วันพุธที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การชุบเครื่องประดับเบื้องต้น ตอนที่ 3 "การล้างแบบใช้คลื่นความถี่สูง" Ultrasonic Cleaner

การล้างแบบใช้คลื่นความถี่สูง" Ultrasonic Cleaner หลังจากการขัดชิ้นงาน บ้างครั้งอาจจะมีเคมี และยาขัดตกค้างอยู่ตามซอกของงานเราต้องทำการกำจัดสิ่งตกค้างเหล่านั้นเพื่อไม่ให้เป็นปัญหาบนผิวงานภายหลัง หลักการทำงานของเครื่อง คือ การใช้คลื่นเสียงอัลตราซาวด์ (wave) และในการล้างทำความสะอาดและ sanitize หรือยากต่อการทำ ความสะอาดในส่วนที่ละเอียดอ่อน ขนาดของระบบทำความสะอาดของคุณอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับความต้องการ ขั้นตอนการล้างอย่างมี ประสิทธิภาพ จะมีองค์ประกอบของกระบวนการทำความสะอาด คือ 1. เครื่องล้าง Ultrasonic 2. น้ำยาล้างอัลตร้าโซนิค สภาวะการทำงานและควบคุม สำหรับชิ้นงานที่เป็นเหล็ก - ยาล้างอุลตร้าโซนิค. 2-3% โดยปริมาตร หรือ 20-30 ซี.ซี.ต่อลิตร - อุณหภูมิ 64-80% องศาเซลเซียส - เวลา 2-10 นาที - อายุการใช้งาน จะใช้ได้นานถ้ามีการเติมย่างสม่ำเสมอ - การกวนน้ำยา ใช้เครื่องอุลตร้าโซนิค เครื่องโยก เป่าลมเบาๆ - ภาชนะที่ใช้ ้ ใช้ถังเหล็ก หรือสแตนเลส สำหรับชิ้นงานที่เป็น สังกะสี ทองเหลือง อลูมิเนียม ตะกั่ว เงิน และทอง - ยาล้าง อุลตร้าโซนิค 0.5-2% โดยปริมาตร หรือ 5-20 ซี.ซี. ต่อลิตร - อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส - เวลา 0.5-2 นาที - การกวน ใช้เครื่องอุลตร้าโซนิค เครื่องโยก เป่าลมเบา ๆ เดี๋ยวตอนที่ 4 กำลังจะมาครับผม ชอบก็ติดตามเป็นกำลังใจทักทายกันบ้างนะครับ

การชุบเครื่องประดับเบื้องต้น ตอนที่ 2 "การขัด"

การเตรียมผิวงานก่อนชุบ หลังจากที่เราขึ้นรูปชิ้นงานของเรา สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น แหวน หรือ สร้อย จะมีความไม่เรียบของผิวงานเราต้องทำการเตรียมผิวขั้นตอนแรกคือ 1.การขัดผิว : ทำได้หลายแบบเหมือนกันขึ้นอยู้กับขนาดชิ้นงาน แต่ชิ้นงานอย่าง เครื่องประดับการขัดผิวจะเป็นการขัดด้วยเครื่องขัดแบบสั่น เครื่องขัดแบบกลิ้ง และเครื่องขัดมือ อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องขัดดังกล่าวมีดังนี้ หินขัด และ ลูกเหล็กขัด ซึ่งจะใช้ร่วมกับเครื่องขัด มีให้เลือกหลายอย่างดังนี้ ซึ่งจะต้องใส่น้ำยาขัดลงไปในการขัดด้วยตามเอกสารที่ผู้ขายกำหนดอัตราส่วนการใช้ครับ

วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การชุบเครื่องประดับเบื้องต้น ตอนที่ 1

หลังจากที่เราเขียนเอาใจคนชุบฝั่งซิงค์มานาน จนคนทำงานฝั่งเครื่องประดับอาจจะน้อยใจผมเลยขอสลับลงความรู้ทางฝั่งเครื่องประดับบ้างนะครับ เทคนิคการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า “เบื้องต้น” วัตถุประสงค์ของการเพยแพร่ความรู้ คือ 1. เข้าใจในขั้นตอนและวิธีการชุบ 2. สามารถนำความรู้ไปใช้ในดำเนิการการชุบได้ 3. เข้าใจในปรากฎการที่เกิดขึ้นในกระบวนการชุบ 4. มีความรู้ในการเตรียมน้ำยาชุบและการใช้งาน 5. เข้าใจในวิธีการป้องกันและแก้ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการชุบและน้ำยาชุบ ขั้นตอนการชุบแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอนใหญ่คือ 1. การเตรียมผิวและการล้าง การขัดผิว การล้างผิวเบื้องต้น การล้างผิวในกระบวนการชุบ 2. การชุบ 3. Post treatment การเคลือบผิวชุบอีกชันเพื่อความทนทาน อาจมีขั้นตอนพิเศษ เช่น การกันหมองเงิน การแช่ในน้ำกลั่นร้อน ฯลฯ จะทยอยเอามาให้อ่านอีกนะครับผม อาทิตย์ล่ะตอน สองตอน ขอบคุณเพื่อนๆที่ส่งกำลังใจมาให้ผมนะครับ

วันพุธที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ขั้นตอนกระบวนการชุบซิงค์แบบไซยาไนต์

กระบวนการชุบซิงค์แบบไซยาไนต์ 1. ต้มล้างชิ้นงาน(Soak Cleaner) // คือการทำความสะอาดชิ้นงานโดยใช้ด่างร้อน ที่อุณหภูมิ 60 - 80 C เพื่อล้างเอาสิ่งสกปรกต่างๆ เช่น น้ำมัน คราบสนิม ออกจากชิ้นงาน เพราะถ้าล้างชิ้นงานไม่สะอาด จะทำให้ผิวงานที่ชุบเกิดปัญหา พอง ร่อน หรือชุบไม่ติด ภาพประกอบจากโครมเทค 2. กัดกรด (Ecting)//เป็นการล้างสนิมชิ้นงานด้วยกรด กรดที่ให้คือ กรดเกลือ (ไฮโดรคลอลิก) ความเข้มข้นที่ใช้ คือ กรดเกลือ 30-50 % ยกตัวอย่างเช่น จะผสมกรด 30% ล้างงาน 1,000 ลิตร ต้องใช้กรดเกลือ 300 ลิตร และน้ำ 700 ลิตร ที่อุณหภูมิห้อง เป็นเป็นการกระตุ้น และเปิดผิวหน้าของช้นงานให้ ทำการชุบซิงค์ได้ดีขึ้น 3. ชุบซิงค์ไซยาไนต์ // เพื่อเพิ่มประสิทธ์ภาพป้องกันการกัดกร่อนบนชิ้นงานเหล็ก ขั้ว + ที่แขวนเป็นตัวล่อ ใช้เป็น ซิงค์แผ่น การชุบซิงค์ต้องมีการเติมเคมีช่วยเพื่อความสวยงาม หรือผมจะขอเรียกง่ายให้ท่านได้อ่านคือ "ยาเงา" การชุบแบบกลิ้ง 1 การชุบแบบกลิ้ง 2 เครื่องจักรกลิ้งชุบอัตโนมัต // Barral Autometic Process Zincplating ขอบคุณภาพจาก บ.ฟาราเทค เครื่องจักรกลิ้งชุบอัตโนมัต // Barral Autometic Process Zincplating ขอบคุณภาพจาก บ.ฟาราเทค การชุบซิงค์แบบแขวน การชุบซิงค์แบบแขวน หมายเหตุ : ให้สอบถามจากผู้ขาย และเอกสารประกอบการใช้งาน (ติดต่อหลังไมค์ได้นะครับ) 4. การจุ่มสี หรือ การ Passivation // เป็นการเคลือบผิวซิงค์ด้วยโครมเมต มีทั้งระบบ Cr3+ และ Cr6+ เพื่อป้องกันการกัดกร่อนของซิงค์อีกชั้นหนึ่ ให้ผิวงานชุบซิงค์ไม่เป็นสนิมขาว และเพื่อมความสวยงามให้ชิ้นงานอีกด้วยในบางชิ้นงาน หมายเหตุ : จะลงรายละเอียดอีกทีในหัวข้อการจุ่มสี (Passivation) 5. อบร้อนชิ้นงาน ที่ อุณหภูมิ 80 - 120 C ตู้อบงาน และ ตู้อบแบบเหวี่ยงร้อน ุ6. ขั้นตอน Q.C. และจัดส่ง // เพื่อคัดชิ้นงานที่ไม่ได้ตามมาตราฐานลูกค้าออก เพื่อ ทำซ้ำแก้ไขเพื่อส่งลูกค้าในรอบการชุบต่อไป "ไม่แนะนำให้ทำการ Q.C. บริเวณใกล้ถังชุบเพราะอาจมีไอของกรดและด่างที่เรามองไม่เห็นเข้ามาเกาะอยู่บนชิ้นงาน" ผู้จัดทำหวังว่าข้อมูลข้างบนจะมีประโยชน์แก่พวกเรานักชุบโลหะไทยครับ พวกกันต่อในบล็อกต่อไป "การชุบซิงแบบไม่ใช้ไซยาไนต์" ขอบคุณครับ กรณ์ สิงห์ดี

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รอพบกับ ELETROPLATING คลีนิก เร็วๆนี้ครับ

รอพบกับ ELETROPLATING คลีนิก เร็วๆนี้ครับ รับสอนชุบ เงิน,ทอง,นิกเกิล,ทองแดง,ซิงค์,โครมเมี่ยม สำหรับผู้ที่ต้องการอาชีพเสริม และผู้ที่มีความสนใจครับ สอนแบบตัวต่อตัว จ่ายครั้งเดียวจนกว่าจะเป็น กรุงเทพ & ปริมลฑล ไปสอนให้ถึงที่ ขอเตรียมเอกสารกับความพร้อมอีกสักพักนะครับ กรณ์ สิงห์ดี

วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ราคากลางในการชุบ ซิงค์ + ชุบสี Cr3+

1.ราคาชุบซิงค์สี ฟ้า-ขาว = 8 -15 บาท/กิโลกรั 2.ราคาชุบซิงค์สีรุ้ง Cr3+ = 18-25 บาท/กิโลกรัม 3.ราคาการชุบซิงค์ดำ Cr3+ = 35-70 บาท/กิโลกรัม ราคานี้แล้วแต่ตามตกลงกันเองระหว่างโรงชุบและผู้จ้างงาน กรณ์ สิงห์ดี

วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เกี่ยวกับ "สังกะสี" ZINC

สังกะสี (Zinc) เป็นธาตุแรกของหมู่ II B จัดเป็นธาตุโลหะ มีเลขอะตอม 30 น้ำหนักอะตอม 65.37 amu จุดหลอมเหลว 419.5 องศาเซลเซียส จุดเดือด 907 องศาเซลเซียส ความหนาแน่น 7.133 g/cc ที่ 25 องศาเซลเซียส เลขออกซิเดชันสามัญ +2 สังกะสีเป็นโลหะที่มีความสำคัญเป็นลำดับ 4 รองจากเหล็กกล้า อะลูมิเนียม และทองแดง เนื่องจากสังกะสีมีเลขออกซิเดชันเพียงค่าเดียวคือ +2 และขาดคุณสมบัติทั่วไปของธาตุทรานซิชัน จึงไม่จัดโลหะสังกะสีอยู่ในกลุ่มโลหะทรานซิชัน แต่เรียกว่าเป็นธาตุหลังทรานซิชัน (post transition element) การค้นพบ มนุษย์รู้จักนำสังกะสีมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานานมาแล้ว แต่เพิ่งจะรู้จักสังกะสีที่อยู่ในรูปของโลหะหรือธาตุอิสระเมื่อเปรียบเทียบกับทองแดงและตะกั่ว ในสมัยอดีตจะใช้สังกะสีที่อยู่ในรูปของโลหะเจือ เริ่มมีการถลุงและสกัดสังกะสีที่ไม่บริสุทธิ์ในประเทศจีน และอินเดียประมาณปี ค.ศ. 1000 และนำสังกะสีที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ (slab zinc or spelter) ไปที่ยุโรปในศตวรรษที่ 17 ในขณะนั้นยังไม่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการ โดยมีชื่อเรียกที่แตกต่างๆกัน เช่น Indian tin, calamine, tutanege หรือ spiauter ในปี ค.ศ. 1697 Lohneyes ได้เรียกชื่อธาตุนี้ว่า “Zink” ต่อมากลายเป็น Zinc

การชุบซิงค์ : ทำเพื่ออะไร

การชุบซิงค์ การใช้งานสังกะสีที่เด่นชัดที่สุดคือ ชุบเคลือบเหล็กป้องกันการผุกร่อน ชั้นสังกะสีจะป้องกันไม่ให้เหล็กผุกร่อนเป็นสนิมได้อย่างดีเยี่ยม เนื่องจากสังกะสีจะทำหน้าที่ป้องกันเหล็กใน 2 ทาง คือ เป็นชั้นป้องกันไม่ให้เหล็กผุกร่อน (Barrier Protection) และ ผุกร่อนแทนเหล็ก (Cathodic Protection) สังกะสีมีอัตราการผุกร่อนที่ช้ามาก ดังนั้นจึงป้องกันเหล็กไม่ให้เจอกับสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เกิดสนิมได้เป็นเวลานาน จากการศึกษาของ ASTM แห่งสหรัฐอเมริกา พบว่าในเขตเมืองอัตราส่วนการผุกร่อนของสังกะสีเมื่อเทียบกับเหล็กเท่ากับ 1 : 20 และจะเท่ากับ 1 : 80 ในบริเวณชายทะเลหรือเขตอุตสาหกรรม ดังนั้นการชุบเคลือบเหล็กด้วยสังกะสีจึงเหมือนกับการสร้างเกราะป้องกันให้กับเหล็กนั่นเอง เหล็กชุบสังกะสีเหมาะกับงานก่อสร้างสาธารณูปโภค สามารถป้องกันเหล็กในระยะยาว โดยไม่ต้องมีการซ่อมบำรุง ได้แก่ ราวกั้นขอบทาง สะพาน เสาไฟฟ้า สถานีส่งไฟฟ้า ท่อเหล็กชุบสังกะสี แผ่นเหล็กชุบสังกะสี (มุงหลังคา ทำผนังอาคาร รั้วบ้าน) ลวดเหล็กและตะปู เป็นต้น การเคลือบผิวด้วยซิ้งค์เป็นการป้องกันการเกิดสนิมของผิวเหล็กได้ดี เมื่อซิ้งค์หมดไปสนิมจึงจะสามารถเกิดขึ้นได้ หากผิวซิ้งค์มีการเคลือบด้วยโครเมทด้วยจะทำให้การป้องกันการกัดกร่อนของสนิมดียิ่งขึ้นอีกและทำให้ผิวชุบของผลิตภัณฑ์สวยงาม ด้านต้นทุนในการชุบซิ้งค์ราคาถูกกว่าการชุบแบบอื่น ๆ กรณ์ สิงห์ดี 083-5588-701

การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า (Electroplating)

การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า (Electroplating) คือ กระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้ากระแสตรง (D.C)เข้าไปในสารละลายเกลือของโลหะ (Metallic salts) แล้วทำให้อิออนบวก (Anode) วิ่งมารับประจุไฟฟ้าลบที่ชิ้นงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นขั้วลบ (Cathode) จึงทำให้เกิดเป็นชั้นผิวบางของโลหะมาเคลือบอยู่บนผิวด้านนอกของชิ้นงาน

การชุบโลหะมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ

1.เพื่อตกแต่งผลิตภัณฑ์ให้เกิดความสวยงาม แวววาว (Decorating) เช่น อุตสาหกรรมเครื่องประดับ,ของประดับและตบแต่งบ้าน 2.เพื่อป้องกันการผุกร่อน (Anti - corrosion) และยืดอายุการใช้งานผลิตภัณฑ์ เช่น อุตสาหกรรมชุบซิงค์เพื่อป้องกันสนิม และ ชุบ EDP 3. และเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ได้แก่ •การนำไฟฟ้า (Electrical conductivity) •การสะท้อนแสง (Reflectivity and appearance) เช่น การเป็นประกาย (Brightness) สี (Color) เป็นต้น •ทนทานต่อแรงบิด (Torque tolerance) •ช่วยในงานเชื่อมประสานโลหะ (Solder ability) •ทนทานต่อสารเคมี (Chemical resistance) •ความสามารถในการยึดเกาะกับเนื้อยางพารา (Ability to bond to rubber) เช่น ใน อุตสาหกรรมยางรถยนต์ เป็นต้น •เพิ่มความแข็ง (Hardness) สัญญาว่าจะนำความรู้กี่ยวกับชุบ ที่เป็นภาษาไทยมาให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ชาวคนชุบโลหะไทย ต่อไปครับ กรณ์ สิงห์ดี เจ้าเก่า แต่เบอร์โทรเปลี่ยนนะครับ เป็น 083-5588-701

อุตสาหกรรมชุบโลหะ คือ (หลังไม่ได้ มาลงข้อมูลให้อ่านมานานกลับมาแล้วครับเพื่อนพ้อง ชาวคนชุบโลหะไทย)

อุตสาหกรรมชุบโลหะ จัดอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมตกแต่งผิวโลหะ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสนับสนุน ของอุตสาหกรรมหลักอื่นๆ จำนวนมาก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ก่อสร้าง อัญมณี เครื่องจักรกลหนัก เครื่องใช้ในบ้าน โทรคมนาคม เป็นต้น (ดังรูป)